Voucher คงเหลือ
ทั้งหมด
248
ท่องเที่ยวภูเก็ต
98
ท่องเที่ยว / เกษตร กระบี่
100 / 50
248
98
100 / 50
โครงการสนับสนุน SMEs ในรูปแบบเงินให้เปล่า สำหรับการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเป็น Digital Provider กับ depa โดยวงเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต รับผิดชอบการดำเนินการมอบทุนสนับสนุนให้ SMEs ในจังหวัดดังต่อไปนี้ ภูเก็ต และกระบี่ จำนวน 2 จังหวัด ซึ่งธุรกิจที่สามารถขอรับทุนสนับสนุนได้ มีดังนี้ 1. ธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 2. ธุรกิจการเกษตรและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้ที่ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
ต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกกับ depa โดยสมัครผ่านเว็บไซต์ https://member.depa.or.th/ เพื่อนำเลข member มาใช้ในการสมัครขอรับทุนสนับสนุน (ประเภทที่ลงทะเบียนต้องเป็นประเภทของ นิติบุคคล/company ที่ชื่อตรงกับชื่อกิจการที่ขอรับทุนสนับสนุน)
SMEs จะต้องกรอกข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกิจ หนังสือรับรอง เพื่อแสดงว่ามีตัวตนและถูกต้องตามคุณสมบัติ และเลือกประเภทเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อขอรับค่าสนับสนุน
ทีมงานจะตรวจสอบข้อมูลที่ SMEs ได้กรอกเข้ามาเพื่อรับค่าสนับสนุน เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยก็จะอนุมัติสิทธิ์ให้สามารถรับค่าสนับสนุนได้ แต่ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องจะปฏิเสธการให้สิทธิ์ขอรับค่าสนับสนุน
ให้ SMEs ทำการอัปโหลดเอกสารใบเสร็จรับเงินของ Provider และรูปภาพประกอบการใช้บริการ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับเบิกค่าสนับสนุนและ ใบสมัคร
ทีมงานจะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารประกอบการเบิกค่าสนับสนุนผ่านทางระบบเรียบร้อย และอนุมัติค่าสนับสนุนให้กับ SMEs แต่ถ้าเอกสารไม่ครบจะทำการติดต่อกลับไปยัง SMEs เพื่ออัปโหลดเอกสารเพิ่มเติม เมื่อเอกสารถูกต้องสมบูรณ์จะทำการแจ้งให้ SMEs ทำการส่งเอกสารตัวจริงมายังสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
ทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตจะทำการชำระค่าสนับสนุนให้กับ SMEs ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เมื่อได้รับการอนุมัติจากการตรวจสอบเอกสารฉบับจริงภายในวันที่ 25 แต่ถ้าได้รับการอนุมัติหลังวันที่ 25 จะได้รับค่าสนับสนุนใน 2 รอบการโอนถัดไป
เทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยในการบริหารจัดการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ รวมถึงก่อให้เกิดข้อมูลธุรกิจในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Operation Backbone) เช่น ERP, CRM, HR, บัญชี, ระบบการขาย, ระบบคลังสินค้า, POS หรือตามที่ depa พิจารณาเห็นสมควรและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
*หลักการพิจาณาเงินสนับสนุน โดยสนับสนุนไม่เกิน 10,000 บาทจากยอดเงินก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) จากใบเสร็จรับเงินที่ออกโดย Digital Provider จะเป็นยอดจำนวนเงินสุทธิสูงสุดที่ได้รับการสนับสนุน (สามารถซื้อสินค้า/บริการ เกินกว่ายอดดังกล่าวได้แต่จะได้รับสนับสนุนจำกัด) ซึ่งจะแสดงตามตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่าง ใบเสร็จจาก Provider ให้กับทาง SMEs ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 15,000 บาท
– สามารถเบิกได้สูงสุดเป็นจำนวน 10,000 (ยอดก่อน VAT)
SMEs จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับทางสมาคมฯ ยอดสุทธิหลังรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 10,000 บาท (รวม VAT)
ตัวอย่าง ใบเสร็จจาก Provider ให้กับทาง SMEs ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 9,990 บาท
– สามารถเบิกได้สูงสุดเป็นจำนวน 9,252.34 (ยอดก่อน VAT)
SMEs จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับทางสมาคมฯ ยอดสุทธิหลังรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 9,252.34 บาท (รวม VAT)
ตัวอย่าง ใบเสร็จจาก Provider ให้กับทาง SMEs ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 15,000 บาท
– สามารถเบิกได้สูงสุดเป็นจำนวน 9,345.79 บาท
SMEs จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับทางสมาคมฯ ยอดสุทธิ 9,345.79 บาท (ไม่มี VAT)
ตัวอย่าง ใบเสร็จจาก Provider ให้กับทาง SMEs ยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 8,000 บาท
– สามารถเบิกได้สูงสุดเป็นจำนวน 6,987.51 บาท
SMEs จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับทางสมาคมฯ ยอดสุทธิ 6,987.51 บาท (ไม่มี VAT)
ตัวอย่าง ใบเสร็จจาก Provider ให้กับทาง SMEs ยอดรวม 12,000 บาท (ไม่มี VAT)
– สามารถเบิกได้สูงสุดเป็นจำนวน 10,000 บาท
SMEs จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับทางสมาคมฯ ยอดสุทธิหลังรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 10,000 บาท (รวม VAT)
ตัวอย่าง ใบเสร็จจาก Provider ให้กับทาง SMEs ยอดรวม 12,000 บาท (ไม่มี VAT)
– สามารถเบิกได้สูงสุดเป็นจำนวน 9,345.79 บาท
SMEs จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับทางสมาคมฯ ยอดสุทธิ 9,345.79 บาท (ไม่มี VAT)
SMEs ที่จะเข้าร่วมโครงการต้องสำรองค่าใช้จ่ายการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการไปก่อน จากนั้นจึงนำส่งหลักฐานเอกสารตามเงื่อนไขมาเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง
สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ จำนวนเงินในการสนับสนุนของผู้ประกอบการแต่ละประเภท
สามารถทำได้ แต่จำนวนเงินค่าสนับสนุนที่รวมกันจะต้องไม่เกิน 10,000 บาท กรณีที่ SMEs มีการจดทะเบียน VAT และ 9,345.79 บาท กรณีที่ SMEs ไม่มีการจดทะเบียน VAT
ใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารขั้นที่ 1 (ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์) ประมาณ 1 สัปดาห์ และใช้เวลาทั้งหมดรวมถึงขั้นที่ 2 ประมาณ 1 เดือน เมื่อเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์จะมีการชำระค่าสนับสนุนให้ภายในสัปดาห์แรกของต้นเดือน โดยจะทำการชำระเดือนละ 1 รอบ ทุกเดือนจนกว่าสิทธิ์การขอค่าสนับสนุนจะครบตามจำนวน
บนหน้าเว็บไซต์จะมีการแสดงจำนวนสิทธิ์คงเหลือโดยสามารถเข้าที่ลิงก์นี้ได้ ตรวจสอบจำนวนสิทธิ์ค่าสนับสนุนคงเหลือ
ขึ้นอยู่กับว่ากรณีที่ถูกปฏิเสธนั้นตรงกับข้อใด้
สามารถรับสิทธิ์ได้อีก แต่ต้องไม่ใช่สินค้าและบริการแบบเดิม เช่น ปีที่แล้วรับสิทธิ POS ปีนี้จะรับสิทธิ POS อีกไม่ได้
ต้องใช้บริการตามรายการของ Digital Provider ที่ขึ้นทะเบียนกับ depa ไว้เท่านั้นซึ่งรายการของ Digital Provider สามารถดูได้ที่ หน้าเว็บไซต์ โดยจะมีการอัปเดต Digital Provider รายใหม่ทุกเดือน
สามารถใช้บริการได้เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนบริการไว้กับทาง depa เท่านั้นซึ่งดูได้จากรายการบน หน้าเว็บไซต์ นอกเหนือจากนี้จะไม่สามารนำมาเบิกค่าสนับสนุนได้
ไปที่เว็บไซต์ https://member.depa.or.th แล้วทำการเข้าสู่ระบบ และคลิกที่ชื่อบริษัท เลือกข้อมูลส่วนบุคคล จะมีข้อมูลรหัสสมาชิกแสดงขึ้นมา
ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี สำหรับรับเงินสนับสนุนโครงการ depa Mini Transformation Voucher SME ที่ขอรับค่าสนับสนุนจะต้องออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีในนาม สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0839521000018 (สำนักงานใหญ่) โดยให้ออกเป็นวันที่ 1 ของเดือนถัดไป และต้องเป็นวันที่หลังจากใบเสร็จที่ออกจาก Digital Provider